รูปแบบของการนำเทคโนโลยี Google Cloud มาใช้ในองค์กรเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในธุรกิจ

Cloud Computing ในปัจจุบัน (ณ เวลานี้คือ ปี 2018) นั้นถูกนำมาใช้เป็นอย่างมาก ทั้งองค์กรประเภทตั้งใหม่ startup หรือ องค์กรขนาดใหญ่ ซึ่ง blog content ชิ้นนี้จะมาเล่าให้เห็นถึงสิ่งที่เราจะสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาได้จาก เทคโนโลยี Cloud Computing ของ Google ที่ชื่อ Google Cloud Platform (GCP)

Screenshot 2018-05-18 at 13.47.40.png

ภาพด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ Google Cloud สามารถให้บริการในด้านต่างๆ แก่ธุรกิจได้ดังนี้

  • บริการด้าน Infrastructure, Storage, Network
  • บริการด้าน Data Analytics & Machine Learning
  • บริการสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำ Application Development อยู่บน เทคโนโลยีของ Google
  • บริการต่างๆ ในการเชื่อมโยงข้อมูลทางธุรกิจ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ API Management, Google Maps Platform เป็นต้น
  • บริการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างทีม หรือที่เรียกว่า Cloud Collaboration

โดยสรุปคือ มีตั้งแต่ระดับ Infrastructure (IaaS), Platform (PaaS) และ Software (SaaS) นั่นเองครบถ้วนทุกมิติของ Cloud Computing  จากนี้ผมจะมาเล่าถึงรูปแบบวิธีการใช้บริการต่างๆ เหล่านี้ภายในองค์กรธุรกิจของเรา เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับบริการที่เราต้องการใช้ครับ เนื่องจาก บริการ GCP นั้นมีจำนวนมาก และ หลากหลายแขนง ดังนั้นเลยขึ้นกับโจทย์ของธุรกิจครับ ว่าต้องการแก้ปัญหาใด และ เราค่อยมาเลือกว่าจะใช้บริการใดของ GCP มาแก้ปัญหานั้นๆ

Screenshot 2018-05-18 at 13.54.41.png

มาดูกันที่ 2 รูปแบบง่ายๆ ในมุมของ Networking สำหรับการนำ GCP มาใช้ในธุรกิจของเราครับ

รูปแบบที่ 1: ถ้าบริการที่เราต้องการใช้บน GCP นั้น ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลภายในองค์กรแบบ real-time หรือ near real-time นั่นหมายถึง บริการนั้นๆ อยู่ได้อย่างอิสระบน Google Cloud  เช่นการสร้างระบบ Web Application ขึ้นมา โดยที่ Web Server, Application Server และ Database Server ก็อยู่บน Google Cloud ในที่เดียว ไม่จำเป็นต้องมีการ synchronization ข้อมูล ไปหรือกลับมาที่ ระบบภายในขององค์กร ถ้ารูปแบบนี้ ก็ไม่ต้องทำอะไรมากครับ สามารถใช้บริการได้โดยตรงทันที ไม่ต้องวางแผนเรื่องการเชื่อม Network ระหว่าง Google Cloud กับ องค์กรของคุณ ทุกอย่างทำผ่าน  Internet ทั้งหมด

รูปแบบที่ 2: ถ้าหากบริการที่เราจะใช้บน GCP นั้นต้องการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบข้อมูลภายในองค์กร อันนี้จำเป็นที่จะต้องทำการเชื่อมต่อในท่าที่เรียกว่า Hybrid Cloud ครับ โดยหลักการเป็นไปตามรูปด้านล่างนี้ครับ

Screenshot 2018-05-18 at 14.27.29.png
ด้านซ้ายคือ Server และ Network ที่เรากำหนดขึ้นบน Google Cloud ด้านขวาคือ Datacenter ของเรา

 

การทำ Hybrid Cloud นั้นจะต้องมีการสร้าง Network Interconnect เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Datacenter ของธุรกิจของคุณเข้ากับ Google Cloud โดยที่การเชื่อมต่อตรงนี้จะเป็นลักษณะ Private IP Connection ทั้งหมด นั่นหมายความว่า Server ต่างๆ ที่คุณวางอยู่ในองค์กร สามารถเชื่อมต่อไปที่ Server ต่างๆ ที่คุณสร้างไว้ใน Google Cloud โดยที่ใช้ Private IP Address ติดต่อกันทั้งหมด ไม่มี Public IP มาเกี่ยวข้อง  หรืออีกนัยหนึ่งคือ ให้เปรียบเสมือนว่า ที่ Google Cloud นั้น เป็น Datacenter ของเราด้วยเช่นกัน ให้คิดซะว่า Google Cloud เป็นส่วนต่อขยายของ Datacenter ของเรานั่นเอง แต่ทั้งหมดนี้ยังอยู่ใน Private IP Address ที่เราควบคุมได้เองทั้งหมด และไม่เกี่ยวข้องแยกจากกันเด็ดขาดกับ ลูกค้ารายอื่นๆ ของ Google ครับ  ==> นี่แหล่ะครับ ที่เรียกว่า Hybrid Cloud

Screenshot 2018-05-18 at 15.32.36.png
VPN เป็นหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อ Datacenter ของธุรกิจเข้ากับ Google Cloud

ในเชิงของการเชื่อมต่อ Networking กันแบบนี้ จะมีอยู่ 2 ลักษณะหลักๆ ครับ

  1. ใช้ VPN เชื่อมต่อระหว่าง Datacenter ของเรา เข้ากับ Google Cloud ซึ่งแต่ละ VPN Tunnel จะรองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 1.5Gbps (อาจจะถึง 3Gbps ได้ ถ้ามีการใช้ร่วมกับ Network Peering กับ Google)
  2. ใช้ Dedicate Interconnect เพื่อเชื่อมต่อ วิธีนี้เรากำลังพูดถึงการเชื่อมต่อที่ความเร็วสูงถึง 10Gbps ต่อ 1 interconnect ครับ

โดยส่วนตัวผมก็ใช้การเชื่อมต่อแบบ VPN อยู่ครับ สะดวกดีเลยทีเดียวกับการเข้าถึง Server ที่อยู่บน Google Cloud เมื่อเราอยู่ใน Office ของบริษัท  และ ในขณะเดียวกัน Server ของเราที่อยู่บน Google Cloud หากมีกรณีที่ต้องเชื่อมต่อไปที่ Database Server ที่วางอยู่ภายใน Intranet ของบริษัทเราเอง ก็ทำได้อย่างสะดวกไปมา  และทุกอย่างนี้ เชื่อมต่อกันด้วย Private IP ทั้งหมดนะครับ เสมือนเรามี Datacenter ขนาดใหญ่อยู่บน Google Cloud ได้เลยทีเดียว

ด้วยแนวคิดแค่นี้ ก็ทำให้องค์กรนั้นๆ เรามี Infrastructure ขนาดใหญ่และพร้อมยืดหยุ่นต่อความต้องการของธุรกิจแล้วครับ สิ่งนี้ทำให้ อะไรหลายๆ อย่างเกิดขึ้นได้ และ เป็นไปได้ภายในหลักไม่กี่นาที ไม่จำเป็นต้องรอการสั่งซื้อ Hardware server ใดๆ อีกต่อไป (ที่จะต้องรอกันเป็นหลักวัน หรือ หลักสัปดาห์ หรือ เดือน) ทุกอย่างรวดเร็วขึ้นหมด และเป็นลักษณะ pay per use นั่นเอง (ใช้มากจ่ายมาก ใช้น้อยจ่ายน้อย จัดการเรื่องความเสี่ยงในการลงทุนเงินก้อนไปก่อนได้เป็นอย่างดี)

จากนั้นเมื่อเราจัดการเรื่องการเชื่อมต่อ Network ณ​ จุดนี้เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะใช้บริการ GCP เพื่อมาสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจต่อไป ติดตามกันใน blog content ชิ้นต่อๆ ไปนะครับ 🙂

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s