ก่อนที่ผมจะเขียน blog content ชิ้นนี้ ก็ต้องประเมินประสบการณ์ของจริงของตนเองก่อนว่า มีอะไรที่จะมาเล่าให้ฟังได้แบบมีน้ำหนัก เกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำเทคโนโลยี Google Cloud มาใช้ในธุรกิจ แบบจับต้องได้และเห็นประโยชน์แบบทันทีทันใดเมื่อใช้เทคโนโลยีนี้นะครับ ต้องเล่าก่อนว่าผมเคยพัฒนา Mobile Application ที่ใช้เทคโนโลยีทางฝั่ง server ในหลายๆ รูปแบบอยู่ ตั้งแต่ไปเช่า Web Hosting Server ที่ต่างประเทศ (ณ เวลานั้นก็ที่ US) เพื่อเอาโปรแกรมไปวางไว้ได้ เพื่อเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ผ่านทางเว็บ , ซื้อ Server มาเป็นของตนเองแล้วนำไปวางไว้ที่ Co-location service ที่ตึก CAT สีลมบางรัก และหลังๆ 4-5 ปีที่ผ่านมาก็ผันมาใช้ Google Cloud Platform แทน
ประโยชน์ที่ได้รับอย่างชัดเจนจาก Google Cloud Platform คือ
- พวกโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure ประเภท Networking, Server และ Storage นั้นมันเป็นทรัพยากรที่พร้อมให้เราใช้ทันที ทันใด ไม่ต้องรอหลายวัน หรือ หลายชั่วโมงเพื่อให้ได้ทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้
- กรณีที่เราต้องการ Infrastructure ที่ใหญ่ขึ้น เราก็ทำได้โดยการเปลี่ยนการตั้งค่าใดๆ เล็กน้อยๆ เพียงแค่ไม่กี่บรรทัด หรือไม่กี่ click เราก็ได้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นนั้นทันที เช่นกัน
- กรณีที่เราต้องการ Infrastructure ที่ยืดหยุ่น เช่น กรณีระบบที่เราให้บริการลูกค้าเราอยู่นั้น ณ ขณะนั้นๆ มีจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนมากมาใช้พร้อมกันเวลาเดียวกัน ระบบของ Google Cloud ก็สามารถเติบโตยืดขยายได้ทันทีทันใด เพื่อรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้ทันที ในขณะที่เวลาถัดไปจำนวนผู้ใช้ลดลง ระบบของ Google Cloud ก็ลดทรัพยากรให้โดยอัตโนมัติ ทุกอย่าง automatic ทั้งหมด ยืดหยุ่นมากๆ
- การจ่ายเงินครับ เรื่องนี้สำคัญมากๆ ก่อนหน้าที่จะเป็น Google Cloud นั้น ผมจำเป็นต้องจ่ายเงินเป็นก้อน เพื่อซื้อ Server, Storage ครับ ซึ่งก็ถือว่าต้องลงทุนไปก่อน โดยที่ยังไม่แน่ใจด้วยว่า ทรัพยากรที่ได้มานั้นจะพอใช้หรือไม่ เพราะจำนวนผู้ใช้งานระบบของเรานั้น เราก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เมื่อไหร่จะมามาก หรือ มาน้อย ซึ่งทำให้รู้สึกเสี่ยงมากในการลงทุน แต่พอมาเป็น Google Cloud นั้นที่รูปแบบการจ่ายเงิน เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นลักษณะ Pay per use จ่ายตามเฉพาะที่ใช้ นี่มันเป็นอะไรที่สุดยอดมากครับ ปกป้องเรื่องความเสี่ยงในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพวก Server, Storage ได้เป็นอย่างดีมากๆ จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อระบบมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้น มันย่อมดีกว่า จ่ายนำไปก่อนจนไม่แน่ใจว่าจะมีผู้ใช้งานระบบหรือไม่ 🙂
- เรื่องการดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องนี้ตั้งแต่ใช้ Google Cloud Platform นั้น เนื่องจากบริการที่ผมใช้จะเป็นบริการที่เหนือกว่าระดับโครงสร้างพื้นฐาน (หรือเรียกง่ายๆ ผมไม่ได้ใช้ที่ระดับ IaaS – Infrastructure as a Service) มันเลยทำให้ผมไม่ต้องมาดูแลเรื่องระบบปฏิบัติการ (OS) หรือ Security patch ใดๆ ของ OS เลยครับ ให้ Google Security Engineer (ซึ่งเป็นระดับ Ph.D. กว่า 700 คน ที่ Google) ดูแลระบบให้แทน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและแตกต่างจาก วิธีการแบบเดิมมากๆ นะครับ เพราะถ้าเป็นระบบที่เราต้องดูแลเอง ผมรับประกันเลยว่า ผมไม่ได้ชำนาญเรื่อง Security ระดับ OS ที่จะป้องกันการโดน hack ได้ตลอดเวลาแน่นอน ฉะนั้นเหมือนเราได้ outsource เรื่องนี้ให้ Google Cloud Platform Team ดูแลให้ นั่นแปลว่าเราเอาเวลาของเราแทนที่จะมาดูแลเรื่อง Infrastructure เหล่านี้ ไปเพิ่มเวลาให้กับส่วนของธุรกิจ หรือ Application แทนได้ อย่าลืมนะครับว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญต่อธุรกิจ และต่อชีวิตของเรามาก การที่เราได้เวลาตรงนี้คืนกลับมา ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากๆ ครับ
- Google Cloud Platform ยังมีบริการอีกหลายตัวจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อเราครับในการนำมาใช้ต่อยอดในระบบ Application ของธุรกิจของเรา เช่นทางด้าน Data Analytics, Machine Learning หรือเรื่องอื่นๆ ซึ่งผมยอมรับเลยว่า ถ้าไม่ได้ใช้ Google Cloud Platform และต้องมาดูแลระบบและ setup ระบบ Data Analytics, Machine Learning เหล่านี้ด้วยตนเองนั้น ทำยังไงก็ไม่มีทางที่จะทำได้ดีไปกว่าให้ Google ทำให้ครับ ด้วยเหตุผลเหมือนเดิมคือ เหมือนเรา outsource เรื่องการใช้บริการทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกเขาจัดการให้ มันย่อมดีกว่าเราทำเองแน่นอน ยกเว้นในเงื่อนไขเดียวคือ หากเราต้องการที่จะทำธุรกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือเทียบเท่ากับ Google ครับ นั่นคือเงื่อนไขเดียว ดูตัวอย่างได้อย่าง Apple, Microsoft, Facebook เป็นต้น
โดยสรุปรวม Google Cloud Platform ทำให้ ธุรกิจเราพัฒนาไปได้เร็วขึ้นครับ เราได้เวลากลับคืนมา เพื่อโฟกัสที่แผนการพัฒนาธุรกิจของเรา มันดีกว่าเอาเวลาเราไปลงกับการ ติดตั้ง ดูแล ระบบ Infrastructure ต่างๆ นานา นี่พูดรวมถึงกรณีที่เราจ้าง IT Team มาไว้ภายในองค์กรเราด้วยนะครับ เราจะได้เวลากลับคืนมาให้คนกลุ่มนี้ ได้ทำเรื่องอื่นๆที่สำคัญกับธุรกิจโดยตรง โดยเน้นไปในเรื่องของ Application, Data Analytics, Machine Learning แทน ซึ่งน่าจะสร้างคุณค่าได้สูงกว่า ดูแลพวก Infrastructure นั่นเอง
มาดูในมุมของ ความเสี่ยง กันบ้างเมื่อเราไปใช้ Google Cloud Platform เราจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
- เรื่อง Infrastructure ของ Google นั้น ไม่จัดเป็นความเสี่ยงเลยครับ เพราะ Google นั้นมี ศูนย์รวมข้อมูลหรือที่เรียกว่า Datacenter นี่กระจายอยู่ทั่วโลก ระบบของธุรกิจเราก็สามารถไปอยู่บน datacenter ต่างๆ เหล่านี้ได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่นี่
- ความเสี่ยงทางด้าน Infrastructure มีอยู่เรื่องเดียวครับ คือ วันที่ Internet ล่ม วันนั้นจะทำให้ระบบของธุรกิจของเราที่อยู่บน Google Cloud Platform นั้นไม่สามารถถูกเชื่อมต่อได้นั่นเอง แต่เราต้องวิเคราะห์เพิ่มครับ เกี่ยวกับ ดีกรีของการที่ Internet จะล่มนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น
- ถ้าหมายถึง Internet Link ของ ISP ที่องค์กรเราเช่าไว้ บังเอิญมีปัญหาหรือติดขัด อันนี้เราสามารถเพิ่มมาตรการป้องกันได้โดยการ มี Backup Internet Link นั่นเองครับ โดยอาจจะใช้ Internet Link ของอีก ISP หรือว่า เชื่อมต่อด้วย 4G แทนก็ได้เช่นกัน (ขึ้นอยู่กับ environment requirement)
- ถ้า Internet Link ที่เป็นสาย Fiber Optic ที่อยู่ใต้มหาสมุทรเกิดขัดข้อง เรื่องนี้ Google ก็มีมาตรการรองรับไว้แล้วเช่นกันโดยการทำให้มี Internet Link แบบนี้หลายชุดครับ อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่นี่
- ตั้งแต่อดีต 20 ปีที่ผ่านมา โลกยังไม่เคยเจอภาวะที่ Internet ทั้งโลกล่มสลายนะครับ เพราะในเชิงการออกแบบของผู้ให้บริการระดับโลกนั้น มีการป้องกันในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไว้หมดแล้วเช่นกัน ดังนั้นความเสี่ยงในเรื่องนี้เลยต่ำมากครับ
- ความเสี่ยงในเรื่องข้อมูลหรือ Data Privacy เรื่องนี้ เราไว้วางใจ Google Cloud Platform ได้หลายเรื่อง หลายมิติครับ
- Google เป็นบริษัทที่ America ครับ และ Google ก็เป็นธุรกิจออนไลน์ขนาดใหญ่ Google ไม่กล้าเล่นเรื่อง Data Privacy โดยการนำข้อมูลของลูกค้าที่ใช้ Google Cloud Platform ไปใช้ต่อหรือเผยแพร่หรืออื่นใดแน่นอน เพราะการทำอย่างนั้น จะต้องโดนไต่สวนอย่างหนักโดยกระบวนการต่างๆ ที่ America อย่างหนักหน่วง จนอาจจะถึงขั้นที่ไม่สามารถทำธุรกิจนี้ต่อไปได้อย่างแน่นอน ต้องอย่าลืมว่า ธุรกิจของ Google นี้ใหญ่มากๆ นะครับ รายได้และกำไรต่อปีสูงมากๆ ดังนั้น Google ไม่กล้าเสี่ยงเรื่องนี้อย่างแน่นอน โอกาสเสียมากกว่าได้ครับ
- Google เป็นผู้ให้บริการครับ นั่นแปลว่า การให้บริการและมีผู้คนมาใช้บริการนั้น จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้ได้ ซึ่ง Google อยู่ในธุรกิจนี้มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือเรื่องนี้มีอย่างแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก
- ดังนั้นแล้ว อ่านถึงจุดนี้ ในเรื่องความไว้วางใจ Google นั้นบอกได้เลยว่า วางใจได้ครับ ทีนี้จุดเสี่ยงอยู่ที่ตรงไหนในเรื่องนี้? ให้อ่านในหัวข้อถัดไปครับ
- Google Cloud Platform มี Service อยู่หลายตัวครับ และ Service แต่ละตัวนั้นก็จะมีวิธีการใช้งาน การออกแบบการใช้งาน หรือ Best Practices ต่างๆนานา ซึ่งเราในฐานะผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องศึกษา และ ดูคำแนะนำต่างๆ เหล่านี้อย่างละเอียด เพราะหากเราละเลยแล้ว เราเองอาจจะกลายเป็นคนที่ทำให้ data มัน leak รั่วไหลออกไปเองครับ ยกตัวอย่างเคสที่เราเพิ่งเห็นในกันข่าว ไม่กี่เดือนก่อนนี้ ที่ผู้ให้บริการรายหนึ่งนำไฟล์ scan ID card ของผู้ใช้บริการไปเก็บไว้ใน Cloud Storage ยี่ห้อนึง และ ตั้งเปิด Public access ให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ คือ เรื่องนี้มันชัดเจนครับว่าผิดพลาดที่ผู้ใช้งานนั่นเอง ก็จัดเป็นกรณีตัวอย่างครับ
อ่านถึงจุดนี้แล้วคงจะพอเห็นประโยชน์ของ Google Cloud Platform ที่จะนำมาใช้ในธุรกิจของคุณแล้วนะครับ และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในส่วนของความเสี่ยงนั้นหลักๆ เกิดจากความผิดพลาดของการออกแบบ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ครับ แต่ถ้าทำตาม best practices อย่างเคร่งครัด ความเสี่ยงก็ถูกจัดการได้ดี และ เราจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างแน่นอน ซึ่งมีเยอะมากกว่าความเสี่ยงมากๆ
และอย่าลืมว่า ณ เวลานี้ ปี 2018 นั้นหลายๆ ธุรกิจก็มีการขยับไปใช้ Google Cloud Platform กันพอสมควรแล้วด้วยเหตุผลประโยชน์ต่างๆนานาที่พูดถึงในข้างต้น แล้วหากธุรกิจของคุณยังไม่มีการนำมาใช้ อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจได้เช่นกันครับ ต้องอย่าลืมครับ ว่า เวลาคือสิ่งสำคัญ เราควรนำเวลากลับมาใช้โฟกัสในธุรกิจใน Application มากกว่ามาดูแล infrastructure ซึ่งมีผู้ให้บริการที่ทำได้ดีกว่าเราแน่นอนครับ
สำหรับผู้อ่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Cloud Platform สามารถติดต่อ พันธมิตรของ Google Cloud ภายในประเทศไทยได้นะครับ บริษัท แทนเจอรีน จำกัด Facebook: https://www.facebook.com/google.apps/ โดยทีมงานที่ Tangerine นั้นเป็นพันธมิตรกับ Google มาตั้งแต่ปี 2008 ก็มีทีมงานที่มี ทักษะ ความรู้ ความสามารถที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี สนใจติดต่อได้เลยตามช่องทางด้านบนครับ